คำศัพท์ที่ใช้ในงานประกันคุณภาพการศึกษา |
|
เพื่อให้บุคลากรทุกระดับของวิทยาลัยฯ มีความเข้าใจตรงกันถึงความหมายของคำศัทพ์ที่ใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย จึงได้รวบรวมคำศัพท์ต่างๆ ไว้ดังนี้ |
|
1.มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในวิทยาลัย และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับ ดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา |
|
2.การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาอย่างมีระบบ ตามแผนที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าผลผลิตที่เกิดขึ้น มีคุณภาพมาตรฐาน ตามคุณลักษณะที่ต้องการ |
|
3.การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง กระบวนการบริหารจัดการต่างๆ ภายในวิทยาลัย ที่ส่งเสริมให้การดำเนินงานจัดการศึกษาของวิทยาลัยมีคุณภาพมาตรฐาน โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบ (Quality Audit) และการประเมินคุณภาพ (Qualty Assessment) อย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรของวิทยาลัย มั่นใจว่าการดำเนินงานตามภารกิจมีคุณภาพมาตรฐาน |
|
4.การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) หมายถึง การที่วิทยาลัยฯ กำหนดให้หน่วยงานจัดระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม พร้อมทั้งให้มีระบบตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการภายในด้วย |
|
5.การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) หมายถึง การตรวจสอบผลการดำเนินการของระบบกลไกควบคุมคุณภาพภายในที่สถาบันได้จัดให้มีขึ้น โดยเป็นการตรวจสอบเชิงระบบมุ่งเน้นการพิจารณาว่าสถาบันได้มีระบบการควบคุมคุณภาพหรือไม่ ได้ใช้ระบบพัฒนาขึ้นเพียงใด และมีขั้นตอนการดำเนินการที่ทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่าการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
|
|
6.การประเมินคุณภาพภายใน (Internal Quality Assessment) หมายถึง กระบวนการประเมินผล การดำเนินการของวิทยาลัยฯ โดยบุคลากรภายในวิทยาลัยเอง เพื่อประเมินโดยภาพรวมว่า เมื่อได้มีการใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา หรือระบบการควบคุมคุณภาพการศึกษาแล้ว ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพมากน้อยเพียงใด |
|
7.การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การที่องค์กรภายนอกตามที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดไว้ ได้ดำเนินการตรวจสอบ/ประเมินระบบ กลไก การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยฯ และเผยแพร่ข้อมูลผลการดำเนินงานต่อสาธารณะ เพื่อให้สังคมมั่นใจว่าวิทยาลัยฯ มีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน |
|
8.คู่มือคุณภาพ (Quality Manual) หมายถึง เอกสารที่วิทยาลัย จัดทำขึ้น โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับระบบและกลการประกันคุณภาพ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ตัดสิน การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง และการตรวจประเมินคุณภาพภายใน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากร
|
|
9.คู่มือขั้นตอนการทำงาน (Procedure Manual) และ วิธีการปฏิบัติงาน (Work Instruction) เป็นเอกสารที่วิทยาลัยฯ จัดทำขึ้น ตามข้อกำหนดระบบคุณภาพ ISO 9001 : 2000 ครอบคลุมกระบวนการจัดการศึกษาตั้งแต่การนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทั้งนี้ได้คำนึงคุณภาพและเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญต่างๆ |
|
10.คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง เอกสารที่วิทยาลัยจัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ตามตัวบ่งชี้สมรรถนะสำคัญ (KPI) |
|
11.มาตรฐานคุณภาพ หมายถึง มาตรฐานที่ สมศ.กำหนดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องและครอบคลุมกับภาระกิจด้านการจัดการศึกษา อันมีผลต่อการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ตัวป้อน กระบวนการ และผลผลิต ประกอบด้วย มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต มาตรฐานด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ มาตรฐานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มาตรฐานด้านพัฒนาสถาบันและบุคลากร มาตรฐานด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน และมาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา |
|
12.รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report) หมายถึง รายงานที่วิทยาลัยฯ ทำการรวบรวมข้อมูล และศึกษาการดำเนินงานด้านต่างๆ ของตนเอง เพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจประเมินและให้การรับรองคุณภาพการศึกษา รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง |
|
|