 กระบวนการประกันคุณภาพ
|
|
การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) เป็นการกำหนดให้มีระบบกลไกในการพัฒนาคุณภาพ
การติดตามคุณภาพ และการประเมิน คุณภาพ ในการดำเนินงานแต่ละมาตรฐาน ตามตัวบ่งชี้ (Performance Indicators) ที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าสถาบันมีการดำเนินงานที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ตลอดจนเป็นแนวทางในการควบคุมคุณภาพและการประเมินคุณภาพของสถาบัน ดังนี้ |
|
1. การพัฒนาคุณภาพ |
|
วิทยาลัยฯ ได้ใช้มาตรฐานและตัวบ่งชี้ของสถาบันพระบรมราชชนก มาตรฐานและตัวบ่งชี้ของสำนักรับรองมาตรฐาน
และการประเมินคุณภาพ การศึกษา (สมศ.) เกณฑ์สภาการพยาบาล และคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการพลเรือนเป็นแนวทางในการออกแบบให้มีระบบในการพัฒนาคุณภาพ |
|
สำหรับเกณฑ์ตัดสินการประเมินถูกออกแบบโดยยึดสาระของความหมายของแต่ละตัวบ่งชี้ของสำนักรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษาและสถาบันพระบรมราชชนก ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานของระบบและกลไกที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ (Achieve) ซึ่งครอบคลุมระบบการทำงานตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA (Plan Do Check Act) |
|
2. การติดตามคุณภาพ |
|
เป็นการตรวจสอบกระบวนการตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ตัดสินการประเมิน ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ทุกคนปฏิบัติได้ ทั้งนี้แต่ละวิทยาลัยฯ จะเป็นผู้ตรวจสอบตนเองว่าได้ปฏิบัติหรือไม่ |
|
3. การประเมินคุณภาพ |
|
เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาของแต่ละวิทยาลัยฯ โดยคณะผู้ประเมินคุณภาพของวิทยาลัยฯ วิทยาลัยเครือข่าย และสถาบันพระบรมราชชนก ซึ่งใช้เกณฑ์ตัดสินการประเมิน เป็นเกณฑ์ในการเทียบเคียงการตัดสินผลการประเมินในแต่ละมาตรฐาน ทั้งนี้แต่ละวิทยาลัยฯ จะต้องจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) เป็นเบื้องต้น |
|