เมนูหลัก
         หน้าแรก
 คณะกรรมการประกันคุณภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา
 
          การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการบริหารจัดการที่มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการทางการศึกษาโดยตรงได้แก่ นักศึกษา ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคม ซึ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมีแนวคิดในการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้
          1.การควบคุมคุณภาพ เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพ และพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน
          2.การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
          3.การประเมินคุณภาพ เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา      โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่ และหน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลาง โดยการตรวจเยี่ยม และประเมินสถานศึกษาเป็นระยะ ตามที่กำหนดโดยหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้การช่วยเหลือ และเตรียมพร้อมเพื่อรอรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
          วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ได้พัฒนาระบบคุณภาพการศึกษาตามนโยบาย ของสถาบันพระบรมราชชนก  กระทรวงสาธารณสุข   มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปี 2541 และได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากสถาบันรับรองมาตรฐานไอ เอส โอ (สรอ.) เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543 ตั้งแต่ปี 2544  ได้นำระบบตัวบ่งชี้สมรรถนะสำคัญ (KPI) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบ ISO 9001: 2000 จนถึงปัจจุบัน

          สำหรับปีการศึกษา 2548-2549    สถาบันพระบรมราชชนก ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของวิทยาลัยฯ ได้มีการทบทวน/เทียบเคียงตัวบ่งชี้ (Benchmark)  กับมาตรฐานตัวบ่งชี้ของสำนักรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยมีแนวคิดในการพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์ตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาให้ครอบคลุมมาตรฐาน/องค์ประกอบ  ตัวบ่งชี้คุณภาพ/ ดัชนีชี้วัดและเกณฑ์ตัดสิน ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)    ดัชนี   องค์ประกอบและเกณฑ์สำคัญของสภาการพยาบาล  รวมทั้งกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา  ดังนี้

 

การพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการศึกษา

 

คุณภาพผลลัพธของการดำเนินงานหลักของวิทยาลัย

 
 

. สมศ. 7 มาตรฐาน
. สภาการพยาบาล
.กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 

 
  1. การผลิตและการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข
  2. การวิจัย
  3. การบริการวิชาการ
  4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
 
 

          ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 2  เกณฑ์การตัดสินคุณภาพการศึกษา  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)  ได้กำหนดเกณฑ์การตัดสินเป็น 3 ระดับ  ซึ่งสถาบันพระบรมราชชนกได้พัฒนาเกณฑ์การตัดสินคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯในสังกัด เป็น 2 ส่วนคือ ประเมินกระบวนการทำงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) และประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานเป็น 5 ระดับ โดยระดับ 1-3 เป็นการประเมินตามเกณฑ์ของ สมศ.   ส่วนระดับที่ 4 และ 5 เป็นการประเมินเพื่อค้นหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ(Critical success factor) และเป็นแนวทางพัฒนาการปฎิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)