หลักการและเหตุผล

......จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเสมอภาคการพัฒนา

ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ในทวีปเอเชีย การเปิดเสรีทางการค้า

การเพิ่มขึ้นและการแข่งขันด้านบริการสุขภาพของเอกชนอุบัติการณ์ของโรค

ไร้เชื้อและโรคติดเชื้อรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรทำให้

มีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น ฯลฯ ทำให้เกิดความต้องการบุคลากรพยาบาลเพิ่มขึ้น

จำนวนมากแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันการศึกษา

เอกชน จะได้ร่วมกันผลิตบุคลากรพยาบาลได้ ปีละ 6,910 คน (สภาการพยาบาล, 2547)

แต่จำนวน บุคลากรดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ พบว่าในปี 2550

ยังขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพจำนวนกว่า30,000คนทำให้บุคลากรพยาบาล

ที่ยังคงอยู่ในระบบบริการสุขภาพต้องทำงานหนักส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและ

คุณภาพบริการ พยาบาลเกิดความเหนื่อยหน่ายขาดแรงจูงใจในงานและออกจาก

องค์การพยาบาลไปในที่สุดพยาบาลที่ยังเหลืออยู่ในองค์การยิ่งต้องทำงานหนักขึ้น

ทำให้เกิดปัญหาเป็นวงจรไม่รู้จบ และการที่ภาครัฐไม่มีตำแหน่งข้าราชการบรรจุทำให้

พยาบาลขาดแรงจูงใจที่จะเข้ามาทำงานในองค์การพยาบาลของรัฐ ดังนั้น พ.ร.บ.

ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อ 26 มิถุนายน

2550นี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งทำให้คาดหวังได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในเรื่อง

การขาดแคลนพยาบาลด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ สำนักการพยาบาลกรมการแพทย์

ร่วมกับสมาคมศิษย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ  วิทยาลัยพยาบาล 

บรมราชชนนีกรุงเทพฯและกลุ่มภารกิจบริการวิชาการโรงพยาบาลราชวิถี

จึงได้จัดประชุมวิชาการครั้งนี้ขึ้น